การประกวดวาดภาพพอร์ตเทรตของประเทศไทย
การประกวดวาดภาพพอร์ตเทรตได้รับความนิยมจากศิลปินและบุคคลสาธารณะทั่วทุกมุมโลก ภาพพอร์ตเทรตนั้นแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของบุคคลในแต่ละประเทศและยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละประเทศ ในปีนี้พวกเรายินดีต้อนรับ Italthai ในการเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของการประกวด Portrait Prize ซึ่งเป็นการรับรองว่าการประกวด Portrait Prize จะยังคนจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีกหลายปีข้างหน้า ในแต่ละปี นิทรรศการ Italthai Portrait Prize จะจัดแสดงผลงานของผู้เข้ารอบสุดท้ายซึ่งทำการตัดสินโดยคณะกรรมการทั้งหมด 50 ชิ้น นอกจากนี้จะคัดเลือกอีก 20 ชิ้นซึ่งสร้างสรรค์โดยผู้เข้าประกวดที่มีอายุ 16 ปีและต่ำกว่า ดั่งเช่นปีที่ผ่านมาสถานที่จัดนิทรรศการ คือ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก งานประกวดภาพวาดพอร์ตเทรต Italthai Portrait Prize 2023 เปิดรับผลงานแล้ว โดยสามารถอ่านการส่งผลงานเข้าประกวดและเงื่อนไข และกรอกใบสมัครออนไลน์ได้ที่ฟอร์มด้านล่างนี้
ในปีนี้งานประกวดวาดภาพพอร์ตเทรตครั้งแรกของประเทศไทยได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สาม โดยในแต่ละปีเราได้เชิญชวนศิลปินมืออาชีพ มือสมัครเล่นและนักเรียน ร่วมส่งภาพพอร์ตเทรตของบุคคล (ผู้เป็นแบบ) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อศิลปินไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ผู้เป็นแบบสามารถเป็นบุคคลซึ่งเป็นที่รู้จักหรือได้รับความเคารพจากศิลปินในการมีส่วนร่วมให้กับสังคม ศิลปินต้องวาดสดโดยมีแบบมานั่งวาดและเขียนคำบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับผู้เป็นแบบ
ในแต่ละปีงานประกวด Italthai Portrait Prize เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้กับศิลปินจากทุกภูมิหลังได้แสดงความสามารถของพวกเขาสู่สาธารณะ, นักสะสม, แกลเลอรี และสื่อต่างๆ
ในปีที่ผ่านมา งานประกวดประกอบด้วยสามรางวัล หากว่าในปีนี้ได้มีการเพิ่มรางวัลที่ 4 เพื่อเป็นการผลักดันศักยภาพของศิลปินรุ่นใหม่จากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศไทย
PORTRAIT PRIZE
คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่านจากแวดวงต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น นักธุรกิจ นักสะสม ผู้ประกอบการ บุคคลในวงการบันเทิงและผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกผลงานที่ข้าชิงในรอบสุดท้ายและเลือกผู้ชนะรางวัล Portrait Prize พร้อมกับเงินรางวัลมูลค่า 500,000 บาท
PACKING ROOM PRIZE
คณะกรรมการชุดที่สองเป็น ทีมงานจัดนิทรรศการของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อกซึ่งเป็นผู้จัดการแกลเลอรีศิลปะร่วมสมัยและดูแลจัดการ, รับผลงานและแขวนผลงานในแต่ละนิทรรศการ เงินรางวัลของ Packing Room Prize อยู่ที่ 200,000 บาท
PEOPLE’S CHOICE PRIZE
คณะกรรมการชุดที่สามเป็น บุคคลทั่วไปที่เข้าชมนิทรรศการและโหวตผลงานที่พวกเขาชื่นชอบมากที่สุด ผลงานทีได้รับผลโหวตสูงสุดจะได้รับรางวัล People’s Choice Prize พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท
YOUTH PRIZE
ผลงานของผู้เข้ารอบสุดท้ายที่มีอายุ 16 ปีหรือต่ำกว่าจะได้จัดแสดงในนิทรรศการ โดยคณะกรรมการ Portrait Prize จะเป็นผู้ตัดสินรางวัล Youth Prize มูลค่า 100,000 บาท
พวกเราคือใคร
กรรมการตัดสินในแต่ละปีจะประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากแวดวงต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น นักธุรกิจ นักสะสม ผู้ประกอบการ บุคคลในวงการบันเทิงและผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมจะได้ถูกรับเชิญเพื่อตัดสินการประกวดภาพผลงานโดยไม่เปิดเผยว่าเป็นผลงานของศิลปินท่านใด รายละเอียดของศิลปินจะไม่ถูกนำเสนอให้คณะกรรมการ แต่ละท่านจะเลือกผลงานเข้ารอบสุดท้ายและผู้ชนะจากภาพผลงานและเรื่องราวของภาพเท่านั้น
คุณท็อปเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาณาจักรธุรกิจซึ่งครอบคลุมงานวิศวกรรม, อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล, อสังหาริมทรัพย์, อุตสาหกรรมบริการและไลฟ์สไตล์ คุณท็อปจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากประเทศสหรัฐอเมริกาและมีความสนใจทางด้านศิลปะมาเป็นเวลานาน
ยุทธชัย จรณะจิตต์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มอิตัลไทย
คุณกอบกาญจน์เป็นประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทยและประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด
ด้วยภูมิหลังในด้านวิจิตรศิลป์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ เธอมุ่งมั่งในการสนับสนุนด้านศิลปะและการศึกษา
กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
ประธานกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ด้วยประสบการณ์การเป็นสุภาพสตรีผู้รับตำแหน่งสำคัญในธุรกิจชายเป็นใหญ่อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ทำให้
คุณแพมก่อตั้งโครงการ Dragonfly 360 เพื่อสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศทั่วทวีปเอเชีย
ประนัปดา จิราธิวัฒน์
ผู้ก่อตั้ง ดราก้อนฟลาย ทรี ซิกตี้
คุณทอมติดตามและสะสมศิลปะไทยมาโดยตลอด
เขายังเชี่ยวชาญในพื้นแห่งความคิดสร้างสรรค์ของประเทศไทย บริษัทประชาสัมพันธ์ของคุณทอมอย่าง TQPR เป็นหนึ่งในองค์กรอิสระชั้นนำของเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้
โทมัส แวน บลาคอม
กรรมการผู้จัดการของ บริษัทโทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
คุณหลานเป็นหัวหอกสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทยและทั่วโลก อย่างในงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ เช่น Maison & Object ที่ปารีสและ Salone del Mobile ที่มิลาน
ม.ล. คฑาทอง ทองใหญ่
นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
คุณนภาลัยเป็นผู้ที่คร่ำหวอดในแวดวงสิ่งพิมพ์ การประชาสัมพันธ์, การตลาด, แวดวงการให้บริการและธุรกิจเพื่อสุขภาพ และเป็นเวลากว่า 30 ปีที่เธอได้สร้างชื่อเสียงให้กับนิตยสาร Thailand Tatler ให้เป็นนิตยสารภาษาอังกฤษชั้นนำของเมืองไทย
นภาลัย อารีสรณ์
บรรณาธิการบริหารนิตยสาร
คุณแอนโทนีผู้เป็นชาวอังกฤษ แต่เกิดและเติบโตที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ และเป็นตัวแทนกลุ่มโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล หนึ่งในเครือเจ้าพระยา ดีเวล๊อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น
แอนโทนี ไทเลอร์
ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ
ทีมงานจัดนิทรรศการของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก นำโดยคุณโทบี้ ลู จัดการและติดตั้งนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย และดำเนินการขายผลงาน ในแต่ละปีทีมจัดนิทรรศการยังเป็นผู้ตัดสินรางวัล Packing Room Prize
ทีมจัดนิทรรศการ
ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
คุณลินดาเป็นผู้ผลิกโฉมริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อกให้เป็นฮับศิลปะอันสำคัญของประเทศไทย เป็นเวลากว่า 36 ปีแห่งความสำเร็จของห้องประมูล RCB Auctions คุณลินดายังได้นำงานประมูลศิลปะร่วมสมัยเข้าสู่ตารางงานประมูลประจำปีของ RCB Auctions
ลินดา เชง
กรรมการผู้จัดการ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
คุณเดวิดผู้เป็นผู้ก่อตั้ง Bangkok’s Creative District เขาริเริ่มการประกวด Portrait Prize ที่ประเทศไทยในปี 2020 และเขายังเป็นผู้รังสรรค์งาน Italthai Portrait Prize คุณเดวิดเป็นผู้ชี้แนะเหล่าคณะกรรมการในการคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้ายและผู้ชนะรางวัล
เดวิด โรบินสัน
กรรมการผู้จัดการบริษัทโอ ที อัม วัน จำกัด
กฎการส่งผลงานเข้าประกวด
เพื่อมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมประกวดภาพพอร์ตเทรต ศิลปินต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ด้านล่างนี้:
พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยในปี 2023
เปิดรับผลงานของศิลปินไทยและต่างชาติ หากว่าศิลปินต้อพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยในปีที่จัดการประกวด ศิลปินสามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้หนึ่งชิ้นต่อปี
ต้องวาดภาพจากผู้เป็นแบบ (ไม่อนุญาตให้วาดจากภาพถ่าย)
ภาพพอร์ตเทรตต้องเป็นภาพที่วาดสด ในที่นี้คือการวาดภาพโดยผู้เป็นแบบต้องมานั่งให้ศิลปินวาด นอกจากภาพพอร์ตเทรตแล้ว ศิลปินต้องส่งคำบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับผู้เป็นแบบและเหตุผลที่ศิลปินเลือกวาดแบบเหล่านี้ ศิลปินต้องส่งภาพถ่ายของศิลปิน, ผู้เป็นแบบและภาพขณะสร้างสรรค์ผลงาน
ศิลปินสามารถเลือกใช้วัสดุอะไรก็ตามมาสร้างสรรค์ผลงาน
ไม่ว่าจะเป็นการวาดลงบนผืนผ้าใบ, กระดาษ หรือ บอร์ดโดยใช้สีน้ำมัน สีอะคริลิค สีน้ำหรือสื่อผสม
หมายเหตุ: ภาพพอร์ตเทรตห้ามเป็นภาพถ่ายและไม่อนุญาตให้วาดภาพด้วยอุปกรณ์หรือโปรแกรมดิจิทัล ภาพที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์หรือฉายทางเครื่องโปรโปรเจคเตอร์ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม
จำกัดขนาดของภาพที่ส่งเข้าประกวด
โดยรูปภาพต้องมีขนาดไม่เกิน 1 ตารางเมตร (ตัวอย่างเช่น 1ม. x 1ม., 1.2 ม. x 0.8 ม., 1.6 ม. x 0.6 ม. หรือเทียบเท่า) วัดจากขนาดของภาพจริงไม่รวมกับกรอบรูปที่ติดอยู่กับภาพ ผลงานอาจประกอบด้วยหลายชิ้นได้หากขนาดรวมทั้งหมดไม่เกินตามที่กำหนดไว้ ภาพถ่ายของภาพพอร์ตเทรตที่วาดเสร็จแล้วต้องส่งเข้าประกวดในระยะเวลาที่เปิดรับสมัคร
2021&2022 Prize Winners
ต่อไปนี้เป็นผู้ชนะรางวัล Portrait Prize, Packing Room Prize และ People’s Choice Prize ของปี 2021 และ 2022
“คุณยายบัวผัน” โดย มานพ โมมินทร์
คุณยาย บัวผัน คาศรี คือบุคคลที่ผมเลือกมาเป็นแบบในการถ่ายทอดเรื่องราวในครั้งนี้ คุณยายอายุ 74 ปีอันเนื่องมาจากในยุคสมัยปัจจุบันที่มีโรคระบาดโควิด-19 แน่นอนว่าการเลือกบุคคลมาเป็นต้นแบบหรือแรงบันดาลใจนั้นเป็นเรื่องที่ยากและในเวลาเดียวกันก็มีความสำคัญมาก ผมได้ลงสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลย่านสถานที่สำคัญบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ถนนราชดำเนิน “ตรอกสาเก-คลองหลอดราชนัดดา” จึงได้พบความหลากหลายของคนในพื้นที่ เช่น คนเร่ร่อน ขอทาน คนค้าประเวณี คนไร้ที่พึ่ง และได้พบกับคุณยายท่านหนึ่งนั่งอยู่บริเวณนั้นจึงได้สะดุดตาด้วยวัยชราของท่านและได้เข้าไปสัมภาษณ์ท่านและพบว่าคุณยายบัวผันในวัย 74 ปี เธอมานั่งขายบริการทางเพศอันเนื่องมาจากประสบปัญหาด้านการเงินในช่วงโรคระบาดโควิด-19 เธอมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาเลี้ยงชพ ซื้อข้าวสารและอาหารแมวเพราะเธอต้องดูแลตัวเอง ไม่มีใครเลี้ยงดู เธอจำเป็นต้องดำรงชีพด้วยวิธีนี้เพราะอายุมากแล้วจะไปสมัครงานที่ไหนก็ไม่มีใครรับ ผมได้ยินเรื่องราวจึงรู้สึกเศร้าสะเทือนใจเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจว่าต้องการที่จะนำเสนอเรื่องราวของคุณยายท่านนี้
“จดหมายเหตุแห่งกาลเวลา” โดย ธนวัฒน์ มุรธาธัญลักษณ์
ผมได้ทราบข่าวโครงการประกวดนี้จากภรรยา รู้สึกสนใจมาก เริ่มคิดว่าจะวาดใครดี “ไอเฟลไง” ไอเฟลคือลูกชายของผมคือแรงบันดาลใจท่ีส่งให้ผมมีพลังในการขับเคลื่อนชีวิตในทุกๆวันผมมีเขา ตอนอายุ 42ปี ซึ่งถือว่า มีลูกช้ามากเมื่ออเทียบกับคนทั่วไป แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ผมมีปัญหาใดๆ ผมทํางานอยู่กับบ้านเป็นส่วนใหญ่ และท่ีผ่านมาลูกชายของผมเป็นเด็กโฮมสคูล ผมและลูกจึงมีเวลาได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาจนกระทั่งเมื่อปีท่ีแล้ว เขาได้กลับเข้าเรียนในระบบการศึกษาแบบปกติอีกคร้ังเราจึงมีเวลาอยู่ด้วยกันน้อยลง แต่ด้วยสถานการณ์โควิด ทําให้เขาต้องใช้บ้านเป็นที่เรียนเหมือนๆกับสมัยโฮมสคูล และในช่วงเวลาแบบน้ีทําให้ผมได้มีโอกาสมองดูความตั้งใจในการเรียนของเขาอย่างใกล้ชิดอีกครั่ง เขาจะตื่นมาแต่เช้าทุกวันเพื่อรอเข้าคลาสเรียนอย่างใจจดใจจ่อ มันส่งผลให้ผมภูมิใจในความรับผิดชอบในตัวเขาอย่างมากและในสถานการณ์โรคระบาดนี้ที่เราต่างต้องเก็บตัวอยู่บ้านเพื่อความปลอดภัย ผมจึงอยากที่จะใช้เรื่องราวความรู้สึกนี้มาบันทึกเป็นภาพพอร์ตเทรตของเขาเอาไว้เพื่อเป็นจดหมายแห่งกาลเวลา อยากถ่ายทอดพลังความตั้งใจในการสร้างผลงานให้ลูกได้รู้สึกภูมิใจในตัวผมเช่นกัน เราต้องผ่านสถานการณ์โควิดนี้ไปด้วยกันให้ได้
“Work From Home” โดยนายนวพล หวลชัยภูมิ
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ก็กำลังประสบปัญหาจากโรคระบาดนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ทำให้ ภาครัฐ และภาคเอกชน ขอความร่วมมือจากประชาชน ให้หลีกเลี่ยงการเดินทาง และปฏิบัติงานอยู่ที่บ้านให้มากที่สุด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ ส่งผลให้ทุกคนในครอบครัวของข้าพเจ้าต้อง Work From Home เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม และทุกคนล้วนต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอยู่ที่บ้าน ข้าพเจ้าจึงเกิดแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดภาพบุคคลสมาชิกภายในบ้าน คือ “กิ๊ก” ภรรยาของข้าพเจ้าและน้องสาวทั้งสองของเธอคือ “เกรซ” และ “เกม” เพื่อเป็นการบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันผ่านผลงานจิตรกรรมเทคนิคสีน้ำมันบนลินิน
“ความสัมพันธ์” โดย ธีรพงศ์ กมลภุส
ความสัมพันธ์คือสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ สิ่งแรกที่เราได้รู้จักคือ “ความสัมพันธ์ของครอบครัว” เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงอยู่ หากเกิดปัญหาขึ้นในสิ่งนี้อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต หรือทิศทางการใช้ชีวิตของบุคคลหนึ่งได้ ผมเผชิญกับความสัมพันธ์ครอบครัวที่ค่อนข้างอึดอัดจากการเป็นคนกลาง เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างตัวบุคคล ทั้งอุปนิสัย ความคิดเห็นทางการเงิน ความต้องการของแต่ละคนที่แตกต่างกัน คำพูดที่ทำร้ายอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัว สะสมเรื้อรังมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา การเงียบใส่กันถือเป็นทางออกในการแก้ปัญหา/ตัดปัญหาที่อาจจะเห็นผลลัพธ์ในช่วงแรก แต่ระยะยาวกลับทำให้เกิดระยะห่างของโครงสร้างความสัมพันธ์ครอบครัวมากยิ่งขึ้น การที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันในทุกวัน เวลา เกิดความแตกแยกกัน การกิน การทำกิจกรรม เที่ยว นอน ภาพถ่ายที่พร้อมหน้ากันหรือแม้แต่การเดินผ่านสายตาของคนในครอบครัวที่สบตาต่อกันยิ่งน้อยลง ในที่สุดต่างฝ่ายต่างเหมือนอากาศธาตุของกันและกัน รู้ว่ามีอยู่แต่กลับมองไม่เห็นมองข้ามไป หัวข้อจากงานประกวดในครั้งนี้ ทำให้ผมเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำให้คนในครอบครัว กลับมาอยู่ด้วยกัน ใกล้ชิดกัน พร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้งโดยใช้ข้ออ้างดังกล่าว แม้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่เวลาชีวิตของแต่ละคนค่อยๆหมดไป แต่อย่างน้อยเราก็ได้อยู่ด้วยกันอีกครั้ง ภายในความทรงจำ และผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้ตลอดไปที่คอยย้ำเตือนถึงความรู้สึก และบันทึกความทรงจำดีๆที่เคยเกิดขึ้นของความสัมพันธ์ครอบครัวอีกครั้ง
“Time & Care” by Ronachart Mahakphichian
Who is the one who shows concern? Is it my grandfather who shows his concern to my father? Or is it my father who shows his concern toward my grandfather? Their facial expressions show that both show their concern toward each other. My father holds my grandfather’s wrinkled hand. He looks worried about his hand as it is the hand of a person who has been through obstacles in order to take care of his family and children. As my grandfather ages, he will become more susceptible to disease and disability. My father would like to take care of my grandfather as long as he can.
Meanwhile, my grandfather looks at my father with his ageing eyes. This pair of eyes has looked at my father since he was born. No matter how grown he is, you can still notice the way my grandfather looks at my father caringly.
The clock is ticking every day. There is no running back. It is the same in our life as well. There are only today and tomorrow. No one can freeze the good time so that happiness will last forever nor can we get rid of sorrow and sadness.
The love and care that my father and my grandfather is countless. Every morning, my grandfather will watch my father go to work and get back home in the evening. He has always been watching my father grow up. My grandfather’s health is my father’s concern. Sometimes, when my father got sick, he was afraid to tell my father as he realized that my father was working hard. However, due to my grandfather’s poor health, my father will always ask my grandfather about his health. My father used to tell me he knew everything has its own time. But it is impossible to ignore my grandfather.
“”Painting and painter in painting” โดย สิรวิชญ์ สุหฤทดำรง
ปัณฑิตา มีบุญสบาย หรือ โบว์ นับว่าเป็นศิลปินยุคใหม่แนวหน้าที่มีผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ ผลงานศิลปะที่เธอรังสรรค์นั้นงดงามมีชีวิตชีวาราวกับเคลื่อนไหวได้เองพร้อมกับการจัดองค์ประกอบอันแปลกตาแฟนตาซี ศิลปินได้ใช้สีเป็นเอกลักษณ์ ถือศิลปินที่โดดเด่นมากคนหนึ่ง มีคํากล่าวไว้ว่าหากเราอยู่ในสภาพแวดล้อมไหน สิ่งเหล่านั้นจะเป็นเหมือนเบ้าหลอมปั้นให้เรากลมกลืนปรับตัวเข้าสู่ในสังคมนั้น อย่างเช่น ทักษะการวาดภาพของผม โดยปกติแล้วศิลปะเป็นงานอดิเรกของใครหลาย ๆ คน หากแต่การวาดรูปเพื่อไปสู่จุดที่ตัวเองวาดฝันนั้นกลับน้อยคนที่จะทําได้ ผมอาจจะเป็นหนึ่งในนั้น หากไม่เจอโบว์ก่อน ทุก ๆ วันที่เริ่มรู้จักโบว์เห็นฝีแปลงจุ่มลงบนจานสีแล้วสบัดอย่างมีพลังในผืนผ้าใบนั้นจนภาพที่ปรากฏมาดุจเรื่องราวที่มีลมหายใจ สิ่งนี้แหละเริ่มจุดไฟให้ผมริเริ่มจับพู่กันร่างทีละเล็กทีละน้อย ครั้งแรกที่พยายามทำตามโบว์ย่อมไม่ตรงตามที่คาดหวัง ผมเลยต้องเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเองจากการครูพักลักจำ สังเกตุตั้งแต่ร่างภาพจนไปถึงกระบวนการขั้นตอนสุดท้าย การเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างนี้อาจทำให้ต้องทดลองอยู่หลายครั้ง แต่ทุก ๆ การทดลองนั้นเป็นกระจกทบทวนมองมาตัวเองว่าเราเหมาะกับแนวทางไหน และควรปรับอะไร ในช่วงแรกเกิดความกลัวภายในใจว่าผลงานของผมจะทำให้ตัวเองและผู้อื่นพึงพอใจได้มากน้อยเพียงใด แต่พอผลงานได้ปรากฏมาแล้วนั้นกลับเกินความคาดหวังที่ตั้งไว้ ผมเลยอยากเป็นกำลังใจให้ใครหลายคนที่ไม่ได้จบมาจากสายศิลปะมาโดยตรง แต่มีความตั้งใจในการเริ่มต้นลงมือทำเหมือนผม ที่มาจากความชอบ จนแสวงหาแนวทางทำงาน ไปสู่ความรักที่มีต่อศิลปะที่ผ่านสู่ผลงานตลอดทุกชิ้น จากเริ่มต้นมาจนถึงปัจจุบัน และต่อไปในภายภาคหน้า
Jury of Portrait Prize 20222
Bangkok Governor announces Portrait Prize 2022 winner
“สุขใจ” เทพพร ปริกเพ็ชร
คุณแม่ฟองแก้ว หรือแม่แก้ว ที่ผมรู้จักมาตั้งแต่เกิดและทุกๆ วันก่อนหน้านี้ ผมอยากวาดภาพคุณแม่มานานมากแล้ว แต่ก็ไม่มีโอกาสสักที จนมีงานนี้ทำให้ผมได้ทำดังที่ตั้งใจไว้ ได้วาดคุณแม่ในมุมมองอารมณ์ทาสแมวของท่าน ในชุดอยู่บ้านตัวโคร่งสบายๆ กับสีผิวที่ออกคล้ำจากการทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีผิวที่ช่วงต้นแขนที่จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
Artist: เทพพร ปริกเพ็ชร
Sitter: คุณแม่ฟองแก้ว ปริกเพ็ชร
“ป้าผู้เป็นที่รักกับสังขารที่ร่วงโรย” จักรกฤษณ์ ศรีสงคราม
ผมมีป้า 2 คน ป้าทั้งสองมีศักดิ์เป็นพี่สาวแท้ๆของแม่ผม ป้าทั้งสองไม่มีภาระครอบครัวจึงนำผมมาเลี้ยงดูและส่งเสียให้ได้เล่าเรียนมาตั้งแต่เด็กจวบจนเติบโต กระทั่งเรียนจบการศึกษาและทำงานเลี้ยงดูตนเองได้ ป้าทั้งสองได้ให้ความรักดูแลเอาใจใส่ผมเป็นอย่างดี ผมจึงมีความรักและผูกพันกับป้ามากเสมือนแม่แท้ๆของผม ป้าทั้งสองอายุ 80 กว่าๆ ซึ่งก็แก่ชรามากแล้ว เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วปี 2565 ป้าผมคนหนึ่งได้เสียชีวิตไปด้วยโรคชรา ดังนั้นผมจึงเหลือป้าอยู่เพียงคนเดียว คือป้าศรีอรุณ ชัยพันธ์ ผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจและมาเป็นต้นแบบให้ผมในการวาดภาพผลงาน portrait ในครั้งนี้ ตั้งแต่ป้าผู้เป็นพี่สาวได้เสียชีวิตไป ป้าศรีอรุณจึงมีอาการเหงาและคิดถึงพี่สาวเป็นธรรมดา ปัจจุบันผมกับป้าศรีอรุณอาศัยอยู่บ้านหลังเดียวกัน ซึ่งความรู้สึกเหงาและเหม่อลอยของป้าตรงนั้นผมจึงรู้เห็นและเข้าใจดี ด้วยวิถีชีวิตประจำวันของป้าที่เปลี่ยนแปลงไป ป้าแก่ชรามากแล้ว ทำอะไรได้เชื่องช้าลง ความจำหลงๆ ลืมๆ สังขารร่วงโรยลงมาก ถึงดวงตาป้าจะฝ้าฟางลงเพียงใด แต่ในดวงใจของป้านั้นยังคงคิดถึงพี่สาวที่จากไปเสมอ และนั่นคือสิ่งที่ผมรู้สึก จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานจิตรกรรมที่ชื่อ “ป้าผู้เป็นที่รักกับสังขารที่ร่วงโรย”
“ความทรงจำในวัยเด็ก” ศุภกร ปัญญาสงค์
ภาพเด็กน้อยที่มีรอยยิ้มมีความสุขที่ได้นั่งเล่นอยู่ข้างบ้านยาย คือน้ององศา ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของผมเอง ที่มีสุนัขตัวโปรดอยู่เคียงข้างเสมอไม่ว่าเด็กน้อยจะทำอะไรไปที่ไหนในระแวกบ้านก็ตาม ทำให้ผมย้อนคิดถึงตัวผมเองในวัยเด็ก ที่ผมชอบมานั่งเล่นที่ข้างบ้านยาย กับเจ้าโชค สุนัขตัวโปรดของผม ท่ามกลางธรรมชาติต้นไม้ ผมชอบมานั่งมองต้นไม้แล้วรู้สึกมีความสุขสบายตา และเป็นจุดกำเนิดทำให้ผมชอบวาดรูป เพราะในธรรมชาตินั้นมีอะไรให้ผมได้ค้นหา มีอะไรที่อยู่ในธรรมชาตินั้นมากมาย บางครั้งผมไม่ได้มองต้นไม้เป็นสีเขียวเสมอไป เพราะผมก็มองเห็นว่าในต้นไม้นั้นมันเป็นสีม่วง และแสงที่สะท้อนจากธรรมชาติ เป็นสีต่างๆ ที่กระทบต่อความรู้สึก เป็นสีสันสะท้อนต่อจิตใจสู่การนำมาสร้างสรรค์ความลึกลับจนเป็นแรงบันดาลใจให้ผมได้เกิดความรักความชอบในการวาดรูปแม้ว่าจะมีอุปสรรคอะไรก็ตาม และนี้ก็คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมวาดภาพนี้ขึ้นมาเพราะมันคือจุดกำเนิดและความทรงจำที่ดีจนทำให้ผมรักและชอบในการวาดรูปจนมาถึงปัจจุบันนี้ แล้วจะทำมันต่อไปด้วยความรัก และใฝ่หาความรู้ ใหม่ๆ ให้มากขึ้นตลอดไปครับ
การตัดสินผู้เข้ารอบสุดท้ายและผู้ชนะ
ศิลปินเข้าร่วมประกวดด้วยการกรอกข้อมูลตามที่กำหนดด้านล่างนี้ ประกอบด้วย คำบรรบยายสั้นๆ เกี่ยวกับผู้เป็นแบบไม่เกิน 300 คำ, ภาพถ่ายของผลงาน (ไม่รวมกรอบ) และภาพถ่ายของศิลปินขณะนั่งวาดภาพกับผู้เป็นแบบ (ประกอบด้วยศิลปิน, ผู้เป็นแบบ และภาพผลงาน)
ผู้เข้ารอบสุดท้าย
การประกวด Portrait Prize ทำการตัดสินแบบ blind competition ซึ่งหมายความว่าคณะกรรมการจะไม่ทราบว่าผลงานแต่ละชิ้นวาดขึ้นโดยศิลปินท่านใดจนกว่าจะประกาศผู้ชนะและนิทรรศการเปิดให้เข้าชม
ภาพถ่ายของภาพพอร์ตเทรตจะถูกส่งให้คณะกรรมการในช่องทางออนไลน์ โดยไม่มีการกล่าวถึงศิลปิน คณะกรรมการคัดเลือก 50 ผลงานเพื่อนำมาจัดแสดงที่นิทรรศการ นอกจากนั้นผลงานอีก 20 ชิ้นของศิลปินที่มีอายุไม่เกิน 16 ปีจะถูกคัดเลือกเพื่อนำมาแสดงในนิทรรศการ
ทีมจัดนิทรรศการของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก จะเป็นผู้ติดต่อศิลปินที่ได้เข้ารอบสุดท้ายแต่ละท่านและจะทำการแจ้งถึงขั้นตอนต่อไป
การตัดสิน
ทีมงาน RCB จะรับและติดตั้งผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เหล่าคณะกรรมการจะมีโอกาสชมผลงานแต่ละชิ้นและอ่านเรื่องราวของผู้เป็นแบบก่อนมารวมตัวกันเพื่อทำการตัดสิน
หลังจากนั้นคณะกรรมการได้เสวนาเพื่อลดจำนวนของผลงานที่พวกเขาชื่นชอบ ต่อมากรรมการทั้ง 7 ท่านซึ่งได้รับการแนะนำโดยโปรดิวเซอร์ Portrait Prize ได้ตกลงเลือกผู้ชนะรางวัล Portrait Prize
ขั้นตอนนี้ได้นำไปใช้กับการตัดสินผู้ชนะ Packing Room Prize ซึ่งตัดสินโดยทีมจัดนิทรรศการของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
การประกาศผู้เข้ารอบ
ศิลปินผู้เข้ารอบสุดท้ายทุกท่านพร้อมทั้งผู้เป็นแบบจะได้รับเชิญเข้าร่วมงานประกาศผู้ชนะรางวัล Portrait Prize, Packing Room Prize และ Youth Prize
หลังจากทำการประกาศรางวัลแล้ว ทุกท่านจะได้เข้าชมนิทรรศการ ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับศิลปิน, ผู้เป็นแบบ, สื่อ และทีมงานในการพบปะและพูดคุยเกี่ยวกับภาพผลงาน
นิทรรศการ
ผู้ชมนิทรรศการทุกท่านได้รับเชิญให้ชมภาพพอร์ตเทรต, อ่านเรื่องราวของผู้เป็นแบบและโหวตภาพผลงานที่ชื่นชอบมากที่สุด
ในวันสิ้นสุดนิทรรศการ ภาพที่ได้รับการโหวตมากที่สุดจะได้รับรางวัล People’s Choice Prize
ศิลปินทุกท่านสามารถขายภาพผลงานให้กับผู้มาชมนิทรรศการ โดยทีมจัดนิทรรศการของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก จะเป็นผู้จัดการดูแลศิลปินแต่ละท่านในขั้นตอนขายผลงานเมื่อพวกเขาได้รับการติดต่อให้เป็นผู้เข้ารอบสุดท้าย
Some important notes for your diary
เปิดรับผลงาน
เปิดรับผลงานเป็นวันสุดท้าย
การประกาศผู้เข้ารอบสุดท้าย
การประกาศผู้ชนะ
เปิดให้เข้าชมนิทรรศการ
นิทรรศการเปิดให้ชมวันสุดท้าย
การประกาศรางวัล People’s Choice Prize
Italthai Portrait Prize 2023
ปิดรับสมัคร Italthai Portrait Prize 2023 แล้ว โปรดติดตามหน้า Instagram ของเราสำหรับการอัปเดต
+66 2 237 0077-80
River City Bangkok
23 trok rongnamkaeng, yotha road
taladnoi sampantawong bangkok 10100
info@portraitprizethailand.com
www.portraitprizethailand.com